การคายไฟแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า

การคายไฟแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์

การคายไฟแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า

การคายไฟแบตเตอรี่ของรถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับปริมาณที่ใช้งานซึ่งแบตเตอรี่ที่ติดตั้งในรถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า

เน้นการใช้งานที่ยาวนานและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าแบตเตอรี่ทั่วไป

เพื่อให้มีความเสถียรและประหยัดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา

อย่างไรก็ตามหากต้องการคายไฟแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า สามารถทำได้โดยการเชื่อมต่อแบตเตอรี่เข้ากับ

ชาร์จเจอร์โดยตรงและรอให้แบตเตอรี่ชาร์จไปจนเต็ม โดยใช้เวลาประมาณ 8-10 ชั่วโมง

ในการชาร์จแบตเตอรี่เต็มสมบูรณ์

นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่เข้าไปแทนที่แบตเตอรี่เดิมได้ โดยอาจต้องเข้าถึงตำแหน่งของแบตเตอรี่

และทำการถอดออกมาก่อนแล้วนำแบตเตอรี่ใหม่เข้าไปแทนที่และเชื่อมต่อเข้ากับระบบไฟฟ้ารถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า 

แต่ในกรณีนี้ควรติดตั้งแบตเตอรี่ที่มีขนาดและพารามิเตอร์ที่เหมือนกับแบตเตอรี่เดิมเพื่อป้องกันการเสียหาย

ของระบบไฟฟ้าในรถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า

พื้นฐานการตรวจเช็คแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์

ตรวจเช็คแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์
  • เมื่อลูกค้านำแบตเตอรี่มาส่ง ให้ทำการถ่ายรูปและตรวจเช็คสายไฟขั้ว ปลั๊ก ถ้าชำรุดให้แก้ไขก่อนทำการชาร์จ
  • หากพบว่าน้ำกลั่นแห้งให้เติมน้ำกลั่นเหนือแผ่นธาตุเล็กน้อย ( ต้องเติมเฉพาะน้ำกลั่นเท่านั้น )

การชาร์จตู้แมนนวล

ตู้ชาร์จแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์

ปรับแรงดันและกระแสก่อนเสียบปลั๊ก

  • ค่าของกระแสคือความจุแอมป์แปร์ (Ah) ของแบตเตอรี่มาหาร 5
  • ในระหว่างการชาร์จควรตรวจดูความร้อนของน้ำกรดในแบตเตอรี่

         ถ้าเกิน 60 C ให้หยุดการชาร์จจนกระทั่งความร้อนลดลงมาต่ำกว่า 45 C จึงทำการชาร์จต่อไป

  • เมื่อทำการชาร์จตู้ออโต้ให้กด Equalize ทุกครั้ง
  • ในขณะชาร์จไม่ควรมีประกายไฟในบริเวณที่ทำการชาร์จเพราะจะทำให้แก๊สที่เกิดขึ้นขณะชาร์จติดไฟได้
  • เลือกสุ่มตรวจสอบ Cell ที่อยู่ค่อนข้างกลางของ Tray เพื่อวัด Terminal Volts, ความถ่วงจำเพาะ , 

         ความร้อนภายใน Cell รวมทั้งระดับน้ำกรด

  • เมื่อ Cell แบตเตอรี่ถูกชาร์จด้วยพลังงานไฟฟ้าจะแปลงสภาพเป็นพลังงานเคมีและเก็บรักษาไว้

         เมื่อทำการจ่ายไฟ Cell จะเปลี่ยนพลังงานเคมีกลับเป็นพลังงานไฟฟ้า

การปรับ/ลดกรด

ทำความสะอาดแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์
  • แบตเตอรี่ 1 Cell ประมาณ 2 Volts. แต่เมื่อการชาร์จเสร็จสิ้นสมบูรณ์ 

         แรงดันจะอยู่ประมาณ 2.12 v – 2.15v ความถ่วงจำเพาะจะประมาณ 1.250 – 1.280

  • เมื่อชาร์จได้ 80% ขึ้นไปหากพบว่า Cell ใด มีค่ากรดต่ำให้ปรับกรดได้ในช่วงเวลานี้ 

         เพราะซัลเฟตที่เกาะแผ่นตะกั่วจะคายออกทำให้รู้ค่ากรดที่แท้จริงแล้วจึงปรับกรด

         โดยกรดต้องไม่เกิน 1.30 เท่านั้นเพื่อไม่ให้แผ่นตะกั่วเกิดความเสียหาย

  • หากค่ากรดเกินให้ผสมกับน้ำกลั่นเพิ่มและใช้ไฮโดรมิเตอร์วัดค่า
  • ไม่ควรปรับกรดในขณะที่แบตเตอรี่แรงดันและค่า ถ.พ ต่ำ

ทดสอบการจ่ายกระแสไฟ (ดึงโหลด)

ทดสอบการจ่ายกระแสไฟฟ้า
  • เมื่อขณะใช้งานกระแสมีจำนวนมากที่จ่ายออกจากแบตเตอรี่ทำ ให้ Volts ของแบตเตอรี่ลดลง 

         และในขณะเดียวกันความถ่วงจำเพาะของน้ำกรดจะลดลงเช่นกันแต่ในขณะชาร์จความเข้มข้นของน้ำกรดจะสูง

เมื่อทำการชาร์จและปรับกรดได้ค่า แล้วให้ดึงกระแสตามนี้

210 Ah – (42-59)

280 Ah – (56-79)

290 Ah – (58-82)

310 Ah – (62-87)

320 Ah – (64-90)

 

370 Ah – (74-104)

400 Ah – (80-113)

420 Ah – (84-119)

500 Ah – (100-141)

  • ค่าแอมป์แป์
  •  ชั่วโมง (Ah) นั่นคือการจ่ายกระแสไฟ (A) เป็นเวลานานเท่าไรคิดเป็นชั่วโมง (H) สำหรับแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์

          ได้กำหนดเวลาในการจ่ายไฟคงที่ 5 ชั่วโมง เช่น ถ้าแบตเตอรี่กำหนด 400 Ah

          5 Hour Rate (5 HR) หมายถึง การจ่ายไฟที่กระแส 400/5 = 80 A คงที่ได้เวลา 5 ชั่วโมงหรือที่ 5 HR = 400 Ah

          3 Hour Rate (3 HR) หมายถึง การจ่ายไฟที่กระแส = 400/3×0.85 = 113 A

อายุการใช้งานของแบตเตอรี่จะขึ้นอยู่กับการใช้งานมากหรือน้อยและการดูแลรักษาที่ถูกต้องหรือไม่ 

โดยทั่วไปการหมดอายุการใช้งานนั้นความจุของแบตเตอรี่จะลดลงเหลือ 60-80% ของความจุมาตรฐาน 

อย่างไรก็ตามอายุการใช้งานเฉลี่ยโดยทั่วไปจะประมาณ 4 ปี สำหรับรถโฟล์คลิฟท์ใหม่และใช้งานถูกต้อง

และถ้านับจำนวนครั้งของการจ่ายไฟ (ที่ 75 %ของความจุ) และการชาร์จไฟกลับเป็นรอบนั้น

จะมีอายุการใช้งานประมาณ 1,200 รอบ ซึ่งความจุจะลดลงเหลือ 80% ของความจุมาตรฐาน

FULL MEDIUM LOW แบตเตอรี่ลดลงอายุการใช้งาน 4 ปี ใช้งาน 1,200 รอบ

ผลที่ทำให้อายุการใช้งานเปลี่ยนไป

กระแสไฟฟ้า

ใช้งานที่อุณหภูมิสูงหรือต่ำกว่า 10~50 C ( ไม่ว่าจะเป็นขณะชาร์จหรือ Discharged )

การใช้งานที่สะเทือนเกินปกติทั่วไปอาจทำให้อายุการใช้งานลดลงซึ่งสิ่งเจือปนในน้ำกรดทำให้เกิดการจ่ายไฟในตัวเอง

ทำให้ต้องใช้กระเสไฟฟ้าชาร์จกลับมากกว่าปกติและประสิทธิภาพการชาร์จก็ลดลงด้วย

เมื่อเริ่มชาร์จกระแสไฟ (A) จะวิ่งเข้าแบตเตอรี่มากและค่อยๆ ลดน้อยลงเรื่อย ๆ เมื่อแรงดันเคลื่อนสูงขึ้น

จนกระทั่งแบตเตอรี่ไฟเริ่มเต็มประมาณ 80% เครื่องชาร์จจะลดกระแสไฟลงเหลือประมาณ 25% ของจำนวน

กระแสไฟชาร์จตอนเริ่มต้น

เครื่องมือที่มีมาตรฐาน

เครื่องมือการคายไฟที่มีมาตรฐาน
  1. ตู้ชาร์จแบตเตอรี่น้ำกรด
  2. ตู้ชาร์จแบตเตอรี่น้ำกรด 48v
  3. ตู้ชาร์จแบตเตอรี่ลิเธียม
เครื่องมือการคายไฟมาตรฐาน
  1. ตู้ดึงโหลด หรือ ตู้ดึงกระแสไฟ 175 แอมป์
  2. ตู้ดึงโหลด หรือ ตู้ดึงกระแสไฟ 250 แอมป์
  3. ตู้ดึงโหลด หรือ ตู้ดึงกระแสไฟ 380 แอมป์
เครื่องมือการคายไฟมีมาตรฐาน

7.เครื่องมือวัด แคลมป์มิเตอร์

เครื่องมือการคายไฟของแบตเตอรี่ที่มีมาตรฐาน

8.เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรด

คายไฟ 3 ชั่วโมงต่อเนื่องและสรุปผลลัพธ์

แบบฟอร์มรายงานการคายไฟของแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า 3 ชั่วโมงต่อเนื่องและสรุปผลลัพธ์

แบบฟอร์มรายงานการคายไฟ

บทความล่าสุด

ติดต่อเราวันนี้