แบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า

แบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า

แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า ( Traction Battery ) คือแบตเตอรี่ชนิดตะกั่วกรด

โดยที่แผ่นธาตุบวกมีลักษณะเป็นแท่งทำจากตะกั่วอัลลอยสวมอยู่ในท่อโพลีเอสเตอร์หรือท่อใยแก้ว

ซึ่งภายในท่อจะบรรจุผงตะกั่วเนื้อบวกไว้ภายในทำให้เนื้อแผ่นธาตุไม่หลุดร่วงง่าย

ด้วยโครงสร้างที่แข็งแรงนี้ทำให้แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า (Traction Battery) จ่ายไฟได้ต่อเนื่องจนถึง 80 % ของความจุแบตเตอรี่

สิ่งที่ลูกค้าคาดหวัง เมื่อจำเป็นต้องซื้อแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า

1.ราคาถูก

2. มีการรับประกันยาวนาน 12 – 24 เดือน

3. มีบริการส่งและติดตั้ง แนะนำการใช้งานและการบำรุงรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม

4. จ่ายพลังงานไฟฟ้าเพียงพอให้โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้าสำหรับการใช้งานหนัก 6 – 8 ชม.

5. อายุการใช้งานยาวนาน >= 1500 cycles (1 cycle คือ ใช้ไฟแบตเตอรี่ไป 80 % ของความจุ และชาร์จใหม่จนเต็ม)

LITHIUM BATTERY
แบตเตอรี่ลิเธียม
ข้อมูลเพิ่มเติมคลิก
แบตเตอรี่ลิเธียม
สินค้าแนะนำ
แบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า 3k
แบตเตอรี่ 3K
ใส่รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้ายืนขับ 1.5 ตัน
ราคาเพียง

95,000 บาท

แบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้ายืนขับ 1.5 ตัน
3K TRACTION BATTERY
CHLORIDE TRACTION BATTERY
HITACHI TRACTION BATTERY

*กรุณาติดต่อสอบถามฝ่ายขายก่อนทำการสั่งซื้อ ขอบคุณค่ะ

เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งาน
คลิกปุ่มพูดคุยกับเรา
เพื่อสกรีนว่ารถโฟล์คลิฟท์เหมาะกับธุรกิจคุณหรือไม่
สารบัญ
บริการส่งแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า
ส่งแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า
ไทวัสดุสาขา วังน้อย (มุกดาหาร)
- แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้ายี่ห้อ CHLORIDE
- รุ่นแบตเตอรี่ 12XWBF7
ส่งแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า
บริษัท ที.ซี.พี. อินดัสทรี้ จำกัด
- แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้ายี่ห้อ 3K
- รุ่นแบตเตอรี่ VFP4
ส่งแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า
ไทวัสดุสาขา โคราช
- แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้ายี่ห้อ CHLORIDE
- รุ่นแบตเตอรี่ 24XIHF11
- ใส่รถโฟล์คลิฟท์ยี่ห้อ mima mf25/50. 3
ส่งแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า
ไทวัสดุ สาขาลำลูกกา
- แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้ายี่ห้อ CHLORIDE
- รุ่นแบตเตอรี่ 24XTHF11
- ใส่รถโฟล์คลิฟท์ยี่ห้อ MIMA MF25-50 NO. 1
ส่งแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า
บริษัท ไดเซล เซฟตี้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด
- แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้ายี่ห้อ 3K
- รุ่นแบตเตอรี่ VDP9AC 48v. 475ah
- ใส่รถโฟล์คลิฟท์ยี่ห้อ Toyota 7fb20
ส่งแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า
ไทวัสดุ จังหวัดตาก
- แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้ายี่ห้อ CHLORIDE
- รุ่นแบตเตอรี่ 12EXTLF7
ส่งแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า
บริษัท ธวัชฟู๊ดส์ จำกัด
- แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้ายี่ห้อ 3K
- รุ่นแบตเตอรี่ VFP4
- ใส่รถโฟล์คลิฟท์ยี่ห้อ nichiyu fbrw15 131ab4212
ส่งแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า
บริษัท รอยัล ฟินนิชชิ่งจ์ จำกัด
- แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้ายี่ห้อ CHLORIDE
- รุ่นแบตเตอรี่ 24EXTHF7
- ใส่รถโฟล์คลิฟท์ยี่ห้อ nissan u01f13t. 15591
ส่งแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า
บริษัท ฟิตเวย์ จำกัด
- แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้ายี่ห้อ 3K
- รุ่นแบตเตอรี่ VDP8ac 435ah 48v
- ใส่รถโฟล์คลิฟท์ยี่ห้อ toyota 7fb15 17565
ส่งแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า
บริษัท อินเตอร์โปรพลาสท์ จำกัด
- แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้ายี่ห้อ 3K
- รุ่นแบตเตอรี่ VFP4
- ใส่รถโฟล์คลิฟท์ยี่ห้อ NICHIYU
ส่งแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า
ไทวัสดุสาขานวมินทร์
- แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้ายี่ห้อ CHLORIDE
- รุ่นแบตเตอรี่ 12XWBF7
ส่งแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า
บริษัท สิน 2000 (ชัยภูมิ) จำกัด
- แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้ายี่ห้อ 3K
- รุ่นแบตเตอรี่ VFP4
- ใส่รถโฟล์คลิฟท์ยี่ห้อ KOMUTSU
รุ่นFB15RL-14 NO.14630
ส่วนประกอบของ แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า Single cell

 1. ฝาจุก  ประกอบด้วยลูกลอยที่มีขีดบอกระดับน้ำกรด ที่ลดไปก็จะสามารถมองเห็นได้

 2. ฝาแบตเตอรี่ ทำด้วย PolyPropylene Copolyme ที่มีความเหนียวและทนทาน 

3. แผ่นธาตุบวก   ประกอบด้วยโครงกริดที่ทำด้วย Lead Alloy ซึ่งสวมใส่อยู่ที่ในท่อ Polyester

 หรือท่อใยแก้วซึ่งภายในท่อจะบรรจุผงตะกั่วเนื้อบวกไว้ภายในทำให้เนื้อผงบวกไม่หลุดง่าย

4. Separator (แผ่นกัน) ทำด้วย Envelope PE Separator 

ใช้สำหรับแบตเตอรี่ชนิด Deep cycle โดยเฉพาะ 

5. แผ่นธาตุลบ ประกอบด้วยโครงการกริดที่ทำจาก Lead Alloy และฉาบด้วย Patste (เนื้อแผ่น)

สูตรเฉพาะสำหรับแบตเตอรี่ Deep cycle

 6. Elecrolyte (น้ำกรดกำมะถันเจือจาง) เป็นกรดที่บริสุทธิ์ ผสมน้ำซึ่งกำหนด                         

ความถ่วงจำเพาะไว้ 1.280 ± 0.01 ที่ 20°C

 7. เปลือกหม้อ ทำด้วยพลาสติกติดพิเศษชนิด PolyPropylene Copolyme  

มีความทรางรูปสูง ทนแรงกระแทก

8. ขั้ว   ทำด้วยตะกรั่วผสม

แบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า 1 ลูกใช้งานได้นานเท่าไหร่ ❓

                                     อายุการใช้งานของแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ ตามมาตรฐานการทดสอบ IEC 254-1 คือ 5-6 ปี หรือ 1,500 cycle 

โดยต้องมีการใช้งานที่ 80 % ของความจุ  ( 2.2 โวลท์ -> 1.75 โวลท์ ) และชาร์จไฟกลับจนเต็ม

คำนิยามของ 1 cycle คือ การประจุไฟจนเต็มและคายประจุไฟจนเหลือ 80 % ของความจุแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ภายในระยะเวลา 24 ชม.

ไอคอนแบตเตอรี่ 2
สาเหตุที่แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้าเสื่อมเร็ว

1. ใช้ไฟเกินความจุของแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า: สูงสุดไม่ควรเกิน 80% ของความจุ

แบตเตอรี่เมื่อชาร์จไฟเต็มมีความจุเซลส์ละ 2.2 โวลท์ ความจุ 80% ของแบตเตอรี่นี้คือ 1.75 โวลท์ เป็นค่าความจุต่ำสุดที่ยอมให้ใช้งานได้

และต้องนำรถไปชาร์จไฟทันที แต่ถ้าเราพยายามใช้งานต่อไปเรื่อยๆ จนความจุต่ำกว่า 1.75 โวลท์ แบตเตอรี่จะเสื่อมไวมาก

เพราะเกิดผลึกซัลเฟตเคลือบที่แผ่นธาตุ   

 

 

2. แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้ามีอุณหภูมิสูง: สูงสุดต้องไม่เกิน 50 องศาเซลเซียส 

แบตเตอรี่จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเกิน 50 องศาเซลเซียสเมื่อ ใช้แล้วชาร์จ ชาร์จแล้วใช้ต่อเนื่องโดยไม่มีการพักให้อุณหภูมิแบตเตอรี่ลดลง

 

 

3. ชาร์จไฟเกิน (Overcharging): แผ่นธาตุแบตเตอรี่ไหม้             

ควรใช้ตู้ชาร์จที่มีระบบตัดการชาร์จไฟอัตโนมัติเมื่อชาร์จไฟเต็ม จะสามารถแก้ปัญหาการชาร์จไฟเกินได้

 

 

4. แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้าคายประจุหมดและไม่มีการชาร์จไฟกลับ : จะเกิดผลึกซัลเฟตเกาะที่แผ่นธาตุ

ผลึกซัลเฟตจะจับตัวเคลือบที่ผิวแผ่นธาตุ ทำหน้าที่คล้ายฉนวน กันไม่ให้น้ำกรดทำปฏิกิริยาเคมีกับแผ่นธาตุได้ แบตเตอรี่จึงเสื่อมไว      

 

 

5. ไม่มีการบำรุงรักษาแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้าอย่างถูกวิธี: ระดับน้ำกลั่น, ความสกปรก, ขี้เกลือซัลเฟตและอื่นๆ

ไอคอนแบตเตอรี่ 1
สาเหตุที่ไฟแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้าไม่พอใช้งานตามเวลาที่ต้องการ

 1. ใช้แบตเตอรี่ลูกเล็กเกินกว่าที่กำหนด

2. ขับไปด้วย ยกไปด้วยในเวลาเดียวกัน

3. พนักงานขับรถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า คิดว่าตัวเองเป็น “นักแข่งรถ”

4. รถเสียเช่น เบรกติด ดุมล้อสกปรก ทำให้ต้องดึงไฟจากแบตเตอรี่มาใช้ในการขับเคลื่อนมาก

5. ติดอุปกรณ์ไฟฟ้ามากเกินความจำเป็น

6. ยางและพื้นผิวไม่เหมาะสม

ไอคอนแบตเตอรี่ 2
เกลือซัลเฟตในแผ่นธาตุแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ?

1. เมื่อทิ้งแบตเตอรี่ไว้เป็นเวลานานโดยที่ไม่ได้ชาร์จไฟ

2. ใช้ไฟเกิน 80% ของความจุแบตเตอรี่ ทำให้เกิด “ผลึกซัลเฟต”

3. ชาร์จไฟไม่เต็มแล้วนำรถไปใช้งาน

4. แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์มีอุณหภูมิสูงเกิน 50 องศาเซลเซียส

5. เติมน้ำกรดในแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์แทนการใช้น้ำกลั่น

การป้องกันการเกิด Over Discharge

1.การป้องกันการเกิด Over Discharge แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้าควรปฏิบัติดังนี้

1.1 ควรหยุดใช้งานเมื่อหน้าปัทม์ Voltmeter ที่รถหรือการตรวจเช็คด้วย Voltmeter อ่านค่าได้ 42 โวลท์หรือต่ำกว่า (สำหรับแบตเตอรี่ที่ต่อพ่วง24 Cells) 

 หรืออ่านค่าได้ 21 โวลท์ หรือต่ำกว่า (สำหรับแบตเตอรี่ที่ต่อพ่วง 12 Cells) หรือถ้าคิด เป็น 1 Cell เท่ากับ 1.75 โวลท์/Cell หรือต่ำกว่าการตรวจเช็ค

ให้ตรวจดูขณะที่รถไม่มีการยกของใด ๆ ( No load )


1.2 ก่อนใช้งานควรตรวจสอบความถ่วงจำเพาะของน้ำกรด ซึ่งไม่ควรต่ำกว่า 1.200 ที่ 20 °C

1.3 ควรหยุดใช้งานเมื่อ

– ความเร็วในการขับเคลื่อนลดลง

– ควรทำการชาร์จแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ทันทีที่เลิกใช้งาน (ไม่จำเป็นต้องรอให้ใช้ไฟจนหมด)

ตัวอย่าง ค่าของความถ่วงจำเพาะที่ลดลงในกรณีใช้งาน

ด้วยการจ่ายกระแสไฟฟ้าที่ 5 HR.

ตัวอย่างค่าถ่วงจำเพาะที่ลดลงของแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า 3

ตามปกติควรทำการตรวจเช็คแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ทุกๆสัปดาห์ อย่างไรก็ตามควรมีการเช็คและบันทึกค่าความถ่วงจำเพาะน้ำกรดทุกๆวัน โดยปฏิบัติดังนี้

ดูดน้ำกรดจากแบตเตอรี่ให้ไฮโดรมิเตอร์ลอยขึ้นแต่ไม่ให้แตะขอบด้านใดด้านหนึ่งของกระบอกอ่านค่าไฮโดรมิเตอร์และบันทึกไว้ในขณะเดียวกัน

 ให้จุ่มเทอร์โมมิเตอร์ไว้ รอสักครู่แล้วอ่านค่าความร้อนแล้วบันทึกไว้ ต่อจากนั้นให้ทำการแปลงค่าความถ่วงจำเพาะไปที่ 20 °C

 เนื่องจากว่าเมื่อความร้อนของน้ำกรดในแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์สูงขึ้นทุกๆ 1 °C จะทำให้ความถ่วงจำเพาะลดลง 0.0007 ซึ่งการแปลงค่าจะทำได้ สูตรต่อไปนี้

 

ในกรณีที่วัดค่าความร้อนในน้ำกรดได้สูงกว่า 20 °C 

S20 = ความถ่วงจำเพาะที่ 20 °C 

St = ความถ่วงจำเพาะที่วัดได้

t = อุณหภูมิที่วัดได้

 

จากสูตร S20 = St + 0.0007 (t-20)

สมมุติว่า วัดค่าความถ่วงจำเพาะได้ 1.230 ที่ 30 °C 

จะได้ว่า   S20 = 1.230+0.0007(30-20)

                 = 1.230+0.0007

                 = 1.237

การใช้งานไฮโดรมิเตอร์

1.4 ระวังไม่ให้เกิด Over charged

1.4.1 ควรใช้Charge ที่ติดมากับรถทุกๆ วัน ถ้าจำเป็นต้องใช้ Charger อื่นควรเป็น Charger ชนิด Constant current และปรับตั้งกระแสไว้ไม่เกิน 5 HR   

 

ตัวอย่างเช่น

แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ที่มีความจุ 400 แอมป์แปร์-ชั่วโมง ควรตั้งกระแสไฟชาร์จไม่เกิน 400/5 = 80 แอมป์แปร์ และใช้เวลาในการชาร์จ 6 ชั่วโมง 

ซึ่งเท่ากับ 80 x 6 = 480 Ah.  ในกรณีที่ความถ่วงจำเพาะหลังจากชาร์จ ต่ำกว่า 1.250 ที่  20 °C ควรชาร์จเพิ่มอีก 3 ชั่วโมง และในระหว่างการชาร์จ

ควรตรวจดูความร้อนของน้ำกรดในแบตเตอรี่   ถ้าเกิน 60 °C ให้หยุดการชาร์จจนกระทั่งความร้อนละลงมาต่ำกว่า 45 °C จึงทำการชาร์จต่อไป 

 

1.5 ควรทำการ Equalize charge ทุกๆ เดือน โดยการบิดสวิทซ์เครื่องชาร์จไปที่ Equalize charge

หรือทำการชาร์จด้วยเครื่องชาร์จที่เป็น Constant current เหมือนกับข้อ 1.4.1

1.6 ตรวจดูและรักษาระดับน้ำกรด

1.6.1 ควรตรวจดูระดับน้ำกรด สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ตามที่แสดงในภาพ

1.6.2 ถ้าระดับน้ำกรดต่ำลงตามภาพ ให้เติมด้วยน้ำกลั่นทันที และต้อง ทำการชาร์จเพื่อให้น้ำกลั่นผสมกับกรดได้ทั่วถึง

 

ระดับการเติมน้ำกลั่น แบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้าหัวข้อ1 6

1.7 ในขณะชาร์จแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไม่ควรมีประกายไฟ ในบริเวณที่ทำการชาร์จเพราะจะทำให้แก๊สที่เกิดขึ้นขณะชาร์จติดไฟได้

1.8 ก่อนใช้งาน หรือการหยุดใช้งานชั่วคราว ควรระมัดระวัง,  เก็บรักษาแบตเตอรี่ให้อยู่ในอุณหภูมิต่ำกว่า 50 °C 

และถ้าหยุดใช้งานมากกว่า 1 เดือน ก่อนที่จะนำกลับมาใช้งานควรทำการชาร์จแบบ Equalize charge 

1.9 ควรรักษาความสะอาดขั้ว, บนฝา และรอบ ๆ ให้สะอาดและแห้งอยู่ตลอดเวลา ถ้าส่วนบนของแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้าสกปรก

ให้ล้างด้วยน้ำสะอาด แต่ต้องระวังไม่ให้น้ำเข้าไปในตัวแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า

Handling

3. Handling 

3.1 การเคลื่อนย้ายและการเก็บรักษาแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า

3.1.1 ในกรณีที่เป็น Cell ต้องระมัดระวังไม่ให้แบตเตอรี่ล้มลง ควรเก็บไว้ในที่สะอาด , แห้ง ไม่ใกล้ความร้อนหรือเปลวไฟ และมีหลังคา

3.1.2 ควรทำความสะอาดส่วนบนฝา และรอบๆ ให้สะอาดอยู่เสมอ

3.1.3 เมื่อมีความจำเป็นต้องเก็บไว้เกิน 1 เดือน ควรนำมาชาร์จใหม่ก่อนใช้งานหรือถ้ายังไม่ได้ใช้งานควรชาร์จเพิ่มทุกๆ 1 เดือน

3.1.4 ควรตรวจดูว่ามีการรั่วซึมของน้ำกรดหรือไม่ หรือระดับน้ำกรดลดลงหรือไม่ถ้ามีน้ำกรดรั่วซึมควรแจ้งผู้ผลิต

 

3.2  การดูแลรักษาแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า ขณะชาร์จ

3.2.1 สภาพของสถานที่ชาร์จ

A: ควรทำการชาร์จในที่ร่ม, สะอาด , อากาศถ่ายเทได้สะดวก

B: ควรทำการชาร์จห่างจากจุดทำงานที่มีประกายไฟ

3.2.2 การตรวจเช็คประจำวัน ก่อนใช้งาน

A: เลือกสุ่มการตรวจ Cell ที่อยู่ค่อนข้างกลางของ Tray เพื่อวัด Terminal Volts, ความถ่วงจำเพาะ, ความร้อนภายใน Cell รวมทั้งระดับน้ำกรด

B: ควรตรวจเช็คก่อนใช้งาน

Capacity ความจุของแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า

 คือค่าแอมแปร์- ชั่วโมง (Ah) นั่นคือ การจ่ายกระแสไฟ (A) เป็นจำนวน เวลานานเท่าไรคิดเป็นชั่วโมง (H) ดังนั้นค่าความจุจึงต้องพิจารณาถึงเวลาในการจ่ายไฟ

และจำนวนกระแสไฟที่จ่ายออกคงที่ สำหรับแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ได้กำหนดเวลาในการจ่ายไฟคงที่ 5 ชั่วโมง เช่น ถ้าแบตเตอรี่กำหนด 400 ah

A) 5 Hour Rate (5HR)

หมายถึง: การจ่ายไฟที่กระแส 400/5 = 80A คงที่ได้เวลา 5 ชั่วโมงหรือที่ 5 HR =400 Ah

B) 3 Hour Rate (3HR)

หมายถึง : การจ่ายไฟที่กระแส =400/3 x 0.85 = 113A คงที่ได้เวลา 3 ชั่วโมงหรือที่ 3 HR = 340 Ah

C) 2 Hour Rate (2HR)

หมายถึง : การจ่ายไฟที่กระแส =400/2 x 0.75 = 150A คงที่ได้เวลา 2 ชั่วโมงหรือที่ 2 HR = 300 Ah

D) 1 Hour Rate (1HR)

หมายถึง : การจ่ายไฟที่กระแส =400/1 x 0.60 = 240A คงที่ได้เวลา 1 ชั่วโมงหรือที่ 1 HR = 240 Ah

คายประจุเบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าถ้าการใช้รถโฟล์คลิฟท์ในการทำงานที่เร็วมากหรือขับเร็วมากจะทำให้เวลาการใช้งานในการชาร์จ 1 รอบ สั้นลงด้วย

 ความจุของแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ผันแปรไปตามอุณหภูมิ เนื่องจากปฏิกิริยาเคมีภายในแบตเตอรี่มีความร้อนเป็นตัวเร่ง

ดังนั้นเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไปจะทำให้ความจุเปลี่ยนไป

ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิและความจุของแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า
ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ แบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า

ในการทดลองความจุของแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า อธิบายได้ว่าเกิดจากการ

– ปฏิกริยาเคมีลดลง เมื่ออุณหภูมิต่ำ

– ความต้านทานของน้ำกรดเพิ่มขึ้น และ Electromotive force เพิ่มขึ้นด้วย เมื่ออุณหภูมิต่ำลง

 

ดังนั้น ในฤดูหนาวระยะเวลาการใช้แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์จึงสั้นกว่าฤดูร้อน หรือถ้าเป็นการใช้งานในห้องเย็นระยะเวลาในการใช้งานก็จะลดลงด้วย 

และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่อุณหภูมิต่ำ จะทำให้ประสิทธิภาพการชาร์จไฟไม่ดี จึงขอแนะนำให้ชาร์จมากกว่าปกติเล็กน้อย หรือถ้าสามารถวอร์มให้อุณหภูมิ

ของน้ำกรดในแบตเตอรี่ขั้นสูงประมาณ 30 °C ก็จะเป็นผลดี อย่างไรก็ตามการ Discharged เพื่อหาความจุของแบตเตอรี่นั้น ควรหยุดการ Discharged 

ที่ 1.75 Volts/Cell  และสำหรับแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์จะใช้วิธีการหา Capacity ที่ 5 HR ที่อุณหภูมิ 3 °C และตามปกติเมื่อแบตเตอรี่ถูก Discharged 100%

 

จะต้องการชาร์จกลับคืน ด้วยกระแส 120 % ของความจุที่หายไปเนื่องจากพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ชาร์จเพิ่มขึ้น 20 % นั้นจะกลายเป็นพลังงานความร้อน

 

และสูญเสียไปในการคำนวณหาความจุของแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ที่อุณหภูมิต่าง ๆ อาจดูจากรูปด้านบนได้ เช่น ถ้าเราทำการ Discharged แบตเตอรี่ใหม่

ซึ่งถูกชาร์จเต็มแล้ว สมมุติให้แบตเตอรี่ที่มีความจุมาตรฐาน 400  Ah (5 HR) และ Discharged ได้ 350 Ah ที่อุณหภูมิ 20 °C ถ้าจะหาว่าความจุที่ 30 °C 

จะได้เท่าไร สามารถคำนวณได้ดังนี้    350/0.95 =369 Ah. ซึ่งเท่ากับ (369/400)x 100 = 92 % ของความจุมาตรฐาน

อายุการใช้งานของแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์

อายุการใช้งานของแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์จะขึ้นอยู่กับการใช้งานมากหรือน้อยและการดูแลรักษาที่ถูกต้องหรือไม่ โดยทั่วไปการหมดอายุอารใช้งานนั้น

ความจุของแบตเตอรี่  จะลดลงเหลือ 60-80 % ของความจุมาตรฐาน อย่างไรก็ตาม อายุการใช้งานเฉลี่ยโดยทั่วไปจะประมาณ 4 ปี สำหรับรถโฟล์คลิฟท์ใหม่

และใช้งานถูกต้องและถ้านับจำนวนครั้งของการจ่ายไฟ (ที่75 % ของความจุ) และการชาร์จไฟกลับเป็นรอบนั้นจะได้อายุการใช้งานประมาณ 1,200 รอบ 

ซึ่งความจุจะลดลงเหลือ 80 % ของความจุมาตรฐานจากเหตุผลข้างบนจะได้ตารางอายุการใช้งานดังนี้

อายุการใช้งานของแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า 1

จากตารางด้านบนนี้ เป็นการชาร์จที่เหมาะสมประมาณ 120 % ของความจุที่หายไปแต่ถ้าการชาร์จมากขึ้น 

สมมุติว่า ชาร์จ 150 % ก็พอจะประมาณจำนวนรวมได้ดังนี้ เช่น Cycle = 1,200 ชาร์จ 150 % จะได้จำนวนรวม = 1,200x(120/150)= 960 รอบเท่านั้น

และควรระวังอีกประการคือความถ่วงจำเพาะของกรดควรอยู่ที่ 1.270 ~ 1.280 เท่านั้น

 

นอกจากนี้ผลที่ทำให้อายุการใช้งานเปลี่ยนไป มีดังต่อไปนี้

– ใช้งานที่อุณหภูมิสูงหรือต่ำกว่า 10 ~ 50 °C (ไม่ว่าจะเป็นขณะชาร์จหรือ Discharged) 

– การใช้งานที่สะเทือนเกินปกติทั่วไป อาจทำให้อายุการใช้งานลดลง

– สิ่งเจือปนในน้ำกรด ทำให้เกิดการจ่ายไฟในตัวเองทำให้ต้องใช้กระแสไฟฟ้าชาร์จกลับมากกว่าปกติ และประสิทธิภาพการชาร์จก็ลดลงด้วย

การคายประจุของแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ Self discharge

คือการคายประจุของแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า โดยทั่วๆ ไป Self discharge จะเกิดจากการที่ในน้ำกรดเจือจางมีสิ่งเจือปนมาก

ที่เรียกว่า Impurity เช่น พัลลาเดียม , พลาตินั่ม, ทอง, เงิน, ทองแดง, นิเกิล และแอนติโมนี่ และสิ่งเจือปนนี้จะทำให้ Resistance ในน้ำกรดลดลง

และเป็นสื่อให้อิเลคตรอนวิ่งจากด้านแผ่นธาตุลบไปด้านแผ่นธาตุบวก ทำให้เกิดการคายไฟขึ้น ตามปกติการจ่ายไฟในตัวเองจะเกิดขึ้นไม่เกิน 1 % 

ของความจุแบตเตอรี่/วัน ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นกว่านี้จะทำให้การคายไฟมากขึ้นกว่าปกติ) ด้วยสาเหตุนี้เอง จึงจำเป็นต้องชาร์จแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ให้เต็ม

ก่อนหยุดใช้งานเป็นเวลานานๆ และต้องทำการชาร์จให้เต็มก่อนใช้งานครั้งใหม่ด้วย

การเกิดแก๊ส

ในขณะทำการชาร์จจนถึง Final Stage จะเกิดแก๊สไฮโดรเจนและออกซิเจนขึ้น ดังนั้นในสถานที่ทำการชาร์จ 

ควรเลือกสถานที่ที่มีการถ่ายเทอากาศได้ดีเพื่อป้องกันการระเบิด

ดูแลรักษา แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ ไฟฟ้า อย่างถูกวิธี

การประจุไฟ / ชาร์จไฟ แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ ไฟฟ้า

– ภายใต้สภาพแวดล้อมปกติ, เราแนะนำให้ชาร์จไฟ แบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ ไฟฟ้า (Forklift Battery) เมื่อความจุ หรือแรงเคลื่อนไฟฟ้า 

ลดลงมาถึง 80% ของความจุไฟฟ้า (Depth of discharge) ทั้งหมดโดยไม่ควรชาร์จไฟก่อนหรือหลัง

 

– แบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ ไฟฟ้า (Forklift Battery) รุ่นใหม่ ที่มีคุณภาพ จะถูกออกแบบให้มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 1500 cycles 

หรือ 1500 รอบการชาร์จไฟขึ้นไป ในสภาพการใช้งานที่เบาถึงปานกลาง การชาร์จไฟในช่วงเวลาที่เหมาะสม (80% Depth of discharge) 

ดีกว่าการชาร์จไฟทุกวัน เพื่อให้แน่ใจว่าการใช้งาน แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ ไฟฟ้าจะคุ้มค่ากับการลงทุนมากที่สุด

ยืดอายุการใช้งานยาวนานที่สุด จึงต้องชาร์จไฟด้วยวิธีการที่ถูกต้องเท่านั้น

 

– เลือกวันสุดสัปดาห์ 1 วันก่อนวันหยุด ทำการชาร์จไฟแบบ “Equalize” หรือ ทุกการชาร์จไฟแบบปกติ 10-20 cycles ให้ชาร์จแบบ “Equalize” 1 ครั้ง

เพื่อคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพในการเก็บ และคายประจุไฟ  ของ แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ ไฟฟ้า ระวัง! อย่าทำสิ่งที่ผิดพลาด การชาร์จไฟแบบ “Equalize” 

ทุกวันจะทำให้อายุการใช้งาน แบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ ไฟฟ้า (Forklift Battery) สั้นลง

วิธีตรวจสอบระดับน้ำกรด
ตรวจวัดระดับน้ำกรดแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า 2
การเช็คระดับน้ำกรด

ระดับที่ถูกต้อง ต้องมองเห็นแกนลูกลอย

การเติมน้ำกลั่นในแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า (Forklift Battery) ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง

1.  แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ ไฟฟ้า (Forklift Battery) ใหม่ (อายุการใช้งานไม่เกิน 2ปี) ควรเติมน้ำกลั่นทุก 10 cycles 

หรือ 10 รอบการชาร์จไฟแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ ไฟฟ้าเก่า อาจต้องเติมน้ำกลั่นทุกๆ 5 cycles   หรือ 5 รอบการชาร์จไฟ

 

2.ทั้งแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า (Forklift Battery) ใหม่ และเก่า แนะนำให้สุ่มตรวจสอบระดับน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ 2-3 เซลล์ ทุก 5 cycles

หรือ 5 รอบการชาร์จไฟ เพื่อให้แน่ใจว่าระดับน้ำยังคงสูงกว่าระดับต่ำสุดหรือสูงกว่า ELEMENT PROTECTOR 

 

3.เมื่อระดับน้ำใน แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ ไฟฟ้า (Forklift Battery) ลดต่ำลง ต้องเติมน้ำกลั่นให้สูงกว่าแผ่น ELEMENT PROTECTOR ประมาณ 1-2 ซม.

ในทุก ๆ เซลล์ ช่องว่างที่เหลือในแบตเตอรี่ มีไว้เพื่อรองรับการขยายตัวของแก๊สเมื่อชาร์จไฟเต็ม

การเติมน้ำกลั่นมากเกินไป แก๊สที่เกิดขึ้นในขณะชาร์จไฟจะดันให้น้ำล้น ออกมา

การทำความสะอาดแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า (Forklift Battery)

– ในกรณีที่น้ำล้นออกมาจาก แบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ เพื่อป้องกันการกัดกร่อนที่รุนแรงต่อถังแบตเตอรี่ และตัวรถโฟล์คลิฟท์ 

ให้ใช้น้ำฉีดล้างเพื่อลดความเข้มข้นของกรด ลดความสามารถในการกัดกร่อน น้ำที่เกิดขึ้นจากการ จะส่งผลน้อย หรือไม่ส่งผลใดๆ ต่อสิ่งแวดล้อม

– กรดเจือจางที่ล้นออกมาจากแบตเตอรี่ มีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้า และกัดกร่อนที่ดี ถ้าไม่ล้างออกคุณสมบัติการนำไฟฟ้านี้จะทำให้แบตเตอรี่คายประจุไฟจนหมด 

แม้ในขณะที่ไม่มีการใช้งานก็ตาม อีกทั้งยังทำให้อุณหภูมิในแบตเตอรี่สูงขึ้นทั้งในขณะชาร์จไฟ (Charge) และใช้งาน (Discharge)

 

– กรดที่ล้นออกมาหลาย ๆ ครั้ง จะรวมตัวกันเกิดเป็นขี้เกลือ หรือผลึกซัลเฟต ซึ่งเป็นสาเหตุให้อายุการใช้งานของ แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ สั้นลง

ฉะนั้นการเติมน้ำกลั่นต้องฝึกให้พนักงานมีทักษะที่ดี เพื่อป้องกันไม่ให้กรดล้นออกมา

– ไอระเหยของกรดระหว่างการชาร์จไฟ จะลอยอยู่รอบ ๆ ฝาปิดเซลล์แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ หลังจากที่ใช้งานไประยะหนึ่งขี้เกลือหรือซัลเฟตจะรวมตัวกัน

ฝาแบตเตอรี่ แนะนำให้ทำความสะอาดเพื่อป้องกันการกัดกร่อนที่อาจเกิดขึ้น

สิ่งที่ควรระวัง

– อย่าเติมน้ำกลั่นมากเกินไป เพราะเป็นสาเหตุให้น้ำล้นในระหว่างชาร์จไฟ ความเข้มข้นของกรดจะเจือจางลงไปเรื่อยๆ ความร้อนในแบตเตอรี่จะสูงขึ้น 

เป็นเหตุให้เกิดค่าใช้จ่ายในการปรับสภาพแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้าต่อไป

 

– อย่าสร้างนิสัยในการชาร์จไฟด้วยเวลาสั้น ๆ ในช่วงพักเที่ยง หรือพักเบรค เพราะการชาร์จไฟด้วยเวลาสั้น ๆ นั้นหมายความถึง “1 Cycle”

การชาร์จไฟเกินเวลาก็เช่นกัน ทั้งสองอย่างนี้ส่งผลให้อายุของแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์สั้นลง ช่วงพักเที่ยงหรือพักเบรคควรจะเป็นเวลาพัก

 เพื่อให้แบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ลดอุณหภูมิความร้อนลงหลังจากที่ใช้งานอย่างหนักมาหลายชั่วโมง

 

– อย่าให้ แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ ไฟฟ้า (Forklift Battery) คายประจุด้วยตัวเองเกิน 2-3 วัน ด้วยสาเหตุเพราะขี้เกลือ หรือซัลเฟตบนแบตเตอรี่ 

เพราะจะทำให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่สั้นลง ควรล้างทำความสะอาดแบตเตอรี่อย่างสม่ำเสมอทุก ๆ เดือน

 

– อย่าปล่อยให้แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์คายประจุมากกว่า 80 % เป็นเวลานาน มันอาจต้องใช้เวลามากกว่า 72 ชั่วโมง ในการชาร์จเพื่อให้แบตเตอรี่กลับมามีไฟอีกครั้ง

 

– อย่าปล่อยให้แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ร้อนอย่างต่อเนื่อง สังเกตจากการได้กลิ่นไอน้ำกรดในขณะใช้งาน เพราะนั่นหมายความว่า 

แบตเตอรี่ หรือตู้ชาร์จ หรือ รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า ของเรากำลังมีปัญหานั่นเอง

 

– ห้ามก่อเกิดประกายไฟ หรือเปลวไฟในขณะชาร์จ แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า (Forklift Battery) เพราะแก๊สไฮโดรเจนจะเป็นต้นเหตุของการระเบิดได้

 

ห้ามมิให้ แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ ไฟฟ้า (Forklift Battery) คายประจุมากเกินไป (Over Discharge)

1. การคายประจุมากเกินไปเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้อายุการใช้งาน แบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ ไฟฟ้า (Forklift Battery) สั้นลง 

สัญญาณเตือนว่าแบตเตอรี่กำลังทำงานหนัก อาจดูได้จากมอเตอร์ร้อนหรือมีเสียงหรือทำงานผิดปกติ มอเตอร์ไหม้ แปรงถ่านหมด หน้า contact ไหม้ละลาย


2. การคายประจุมากเกินไป ต้องใช้เวลาในการชาร์จไฟยาวนานขึ้น อาจกินเวลาทำงานในวันถัดไป


3. เครื่องชาร์จไฟอัตโนมัติจะไม่ทำงานในกรณีที่แบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้ามีการคายประจุมากเกินไป อาจต้องเสียเวลาในการหาเครื่องชาร์จแบบธรรมดา

มาชาร์จไฟในช่วงเริ่มต้น

EA forklift
ได้รับมาตรฐาน ISO 9001 : 2015
FORKLIFT มาตรฐาน Iso EA
CUSTOMER REFERENCE
Ea Logo Customer
ผู้เชี่ยวชาญพิเศษดูแลรถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้าคุณภาพ
ทีมเซอร์วิสของแบรนด์ EA forklift
ทีมช่างภายในบริษัทผู้เชี่ยวชาญ
ทีมช่างภายในผู้เชี่ยวชาญของบริษัท EA Forklift
ทีมช่างภายในชำนาญการ EA Forklift
ทีมช่างภายนอกบริษัท EA Forklift
ทีมช่างภายนอกผู้เชี่ยวชาญ EA Forklift
ทีมช่างภายนอกของแบรนด์ EA Forklift
รีวิวลูกค้าใช้งานแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า EA forklift
บริษัท​ซีอาร์ซีไทวัสดุ​ (สาขาศรีราชา) ยี่ห้อรถ MIMA MF25-50
บริการส่งแบตเตอร์รี่รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้าพร้อมติดตั้งแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า
บริษัท ซีอาร์ซีไทวัสดุ (สาขาบางนา) ประเภทงาน : PM รถลูกค้า รถ HELI CPD30 บริการตรวจเช็คระบบแบตเตอรี่ แบตเตอรี่เป็นระบบ LiTHIUM ION
บริษัทซีอาร์ซีไทวัสดุ (สาขาอ้อมน้อย) รถ HELI CPD30 อาการ แบตเตอรี่เสีย(ชำรุด) เปลี่ยนเซลล์แบตเตอรี่ เปลี่ยนสายแบตเตอรี่ เปลี่ยนหางปลาเบอร์ เปลี่ยนปลั๊กREMA
บริษัท​ซีอาร์ซีไทวัสดุ​ (สาขา)
บริษัท ซีอาร์ซีไทวัสดุ (สาขา)
บริษัทซีอาร์ซีไทวัสดุ (สาขา)
บริษัท​ซีอาร์ซีไทวัสดุ​ (สาขา)
บริษัท ซีอาร์ซีไทวัสดุ (สาขา)
บริษัทซีอาร์ซีไทวัสดุ (สาขา)

สอบถามสินค้า บริการ งานซ่อม รถโฟล์คลิฟท์ แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ ยางตัน อื่นๆ

ขอใบเสนอราคาโดยการกรอกข้อมูลด้านล่าง