ตู้ชาร์จแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์
Previous slide
Next slide

ตู้ชาร์จแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์

คู่มือติดตั้งและวิธีใช้
รุ่น FT และ FS
ตรา เพชร Petch
Forklift Battery Charger
ตู้ชาร์จแบตเตอรี่ Forklift Battery Charger

*กรุณาติดต่อสอบถามฝ่ายขายก่อนทำการสั่งซื้อ ขอบคุณค่ะ

1. ข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัย

1.1 ผู้ใช้ตู้ชาร์จแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องนี้ ควรเป็นผู้ที่มีทักษะและความชำนาญในการใช้เครื่องเท่านั้น

1.2 ก่อนการใช้งาน ควรให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องนี้อ่านคู่มือการใช้งานนี้ให้เข้าใจครบถ้วนเสียก่อน

1.3 จัดวางคู่มือนี้ในที่สะดวกในการหยิบอ่านได้ง่าย


1.4 พึงสังวรเสมอว่า แรงดันไฟเข้าและไฟออกมีกำลังมากพอที่จะทำอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นเพื่อความไม่ประมาท 

ควรตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่อง พร้อมทั้งอุปกรณ์ ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยเสมอ

1.5 ในการชาร์จแบตเตอรี่แบบเติมน้ำกรด จะเกิดก๊าซไฮโดรเจน ซึ่งติดไฟง่าย และไอกรดกำมะถัน ซึ่งเป็นพิษ ดังนั้นจึงควรใช้งานในที่ที่อากาศถ่ายเทได้ดี

คู่มือติดตั้งตู้ชาร์จแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ หน้า2
2. ข้อมูลจำเพาะตู้ชาร์จแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์

2.1 แรงดันไฟเข้า (โวลท์) และกำลังของตู้ชาร์จแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ (เควีเอ) : ดูตารางข้อมูลจำเพาะที่หน้าเครื่อง

คู่มือติดตั้งตู้ชาร์จแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ หน้า3

2.2 แรงดันไฟออก และ กระแสไฟออก : ดูตารางข้อมูลจำเพาะที่หน้าตู้ชาร์จแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์

2.3 อุปกรณ์ป้องกัน : สวิทซ์เบรคเกอร์ ที่ไฟเข้า และ ฟิวส์ ที่ไฟออก

3. การติดตั้งและเตรียมใช้งานตู้ชาร์จแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์

3.1 ติดตั้งเครื่องในที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อยู่ในที่อับชื้น อยู่ในที่ร่ม ไม่ตากแดดตากฝน ไม่มีฝุ่นละอองมาก และไม่อยู่ใกล้สารเคมีหรือก๊าซไวไฟ

3.2 เนื่องจากอาจมีน้ำกรดรั่วไหลหรือล้นออกมาจากแบตเตอรี่ ดังนั้นบริเวณที่วางแบตเตอรี่ควรเป็นพื้นที่ทนทานต่อน้ำกรด,

 ระบายน้ำได้ดีและมีก๊อกน้ำเพื่อฉีดล้างได้ทันที

3.3 ไม่ควรติดตั้งตู้ชาร์จแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ชิดกำแพงหรือมีสิ่งกีดขวางโดยรอบ ควรมีพื้นที่ว่างอย่างน้อย 10 ซม. โดยรอบเครื่อง

3.4 สายไฟเข้าเครื่องจะต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับกำลังของตู้ชาร์จแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ ซึ่งคำนวณได้จากสูตร


ขนาดของสายไฟเข้า (ตารางมิลลิเมตร) = ค่ากระแสไฟเข้าสูงสุด(แอมป์) x 0.25

ค่ากระแสไฟเข้าสูงสุด ดูได้จากตารางข้อมูลจำเพาะ ที่ติดอยู่หน้าเครื่อง โดยคำนวณได้จากสูตรข้อ 2.1 

ในกรณีที่สายไฟเข้ามีระยะยาวมาก(เกิน 20 เมตร) จะต้องใช้สายไฟที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าขนาดที่คำนวณได้ ไม่น้อยกว่า 5 % ทุกระยะ 20 เมตร

3.5 ตรวจสอบค่าแรงดันไฟเมน (main voltage) ณ สถานที่ติดตั้ง ก่อนใช้งานจริง เนื่องจากค่าแรงดันไฟเมนที่สูงหรือต่ำเกินไป ๆ 

จะมีผลคลาดเคลื่อนต่อการใช้งาน จึงควรปรับขั้วไฟเข้าของเครื่องให้ตรงกับค่าแรงดันไฟเมนที่เป็นจริง (ภาพ2,4,5) 

ซึ่งอยู่ภายในตัวตู้ชาร์จแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์บริเวณขดลวดหม้อแปลงและจะต้องกระทำโดยช่างผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

ข้อแนะนำและข้อพึงระวังเป็นพิเศษ

– ควรใช้คอนเนคเตอร์แบบมาตรฐาน ไม่แนะนำให้ใช้ขั้วต่อที่มีโอกาสทำให้ผิดขั้วได้ เช่น คีมคีบขั้ว เป็นต้น

– ในการเตรียมหัวปลั๊กต่อไฟออก (Output Connector) ต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่าขั้วต่อสายไฟออกจากเครื่องให้ตรงกับขั้วของแบตเตอรี่

(ขั้วบวกกับบวก,ขั้วลบกับลบ) มิฉะนั้นหากกลับขั้วกันจะทำให้เครื่องและแบตเตอรี่ชำรุดเสียหายได้อย่างรวดเร็วและรุนแรง

– ในกรณีที่มีการชาร์จกลับขั้ว (Reversed Polarity) ตู้ชาร์จแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์มีระบบป้องกันความเสียหายขั้นต้น


 โดยจะมีเสียงร้องดังต่อเนื่องตลอดเวลา(จนกว่าจะถอดขั้วออกหรือกลับขั้วใหม่ให้ถูกต้อง) ผู้ใช้ต้องรีบถอดขั้วออกโดยเร็วไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน

 ให้สลับขั้วให้ถูกต้องหลังจากนั้น หากตู้ชาร์จแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ยังใช้การไม่ได้ แสดงว่า ฟิวส์ควบคุมการจ่ายไฟออกที่อยู่ภายในเครื่องเสียหาย

เครื่องจะไม่สามารถจ่ายไฟให้แบตเตอรี่อีกจนกว่าจะเปลี่ยนฟิวส์ควบคุมไฟออกตัวใหม่ การเปลี่ยนฟิวส์ไฟออกนั้น 

ให้ผู้ใช้เผิดฝาครอบเครื่องออกถอดฟิวส์ที่เสียหายแล้วใส่ฟิวส์ขนาดเดียวกัน ห้ามใช้ฟิวส์ที่ต้านทานกระแสไฟต่างขนาดกันเป็นอันขาด

4. วิธีปฏิบัติในการใช้งานตู้ชาร์จแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์

4.1 ตรวจแรงดันและจำนวนเฟสของไฟเข้าและแรงดันของแบตเตอรี่ ต้องตรงกับพิกัดกำลังของตู้ชาร์จแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์

4.2 ต้องแน่ใจว่าแบตเตอรี่อยู่ในสภาวะพร้อมใช้งาน เช่น ตรวจสอบระดับน้ำกรด,ความสะอาดของขั้ว,ค่าAH

 (แอมแปร์-ชั่วโมง) ของแบตเตอรี่ตรงกับพิกัดกำลังของเครื่องชาร์จ เป็นต้น

4.3 ต้องแน่ใจว่าขั้วไฟออกของเครื่องมีขั้วตรงกับขั้วแบตฯ (ขั้วบวก ต่อกับ ขั้วบวก, ขั้วลบต่อกับขั้วลบ)

4.4 เสียบปลั๊กไฟออก (Output)เข้ากับปลั๊กของขั้วแบตเตอรี่ , แล้วจึงเสียบปลั๊กไฟเข้า (Input)


4.5 เปิดสวิตซ์ไฟเข้า-หลอดไฟ E สว่าง เครื่องจะเริ่มชาร์จจนไฟเต็มหม้อ และจะหยุดชาร์จเองโดยอัตโนมัติ 

หลอดไฟ Full จะสว่างค้าง เครื่องจะร้องเตือนประมาณ 10 ครั้ง

4.6 ถ้าไฟแบตเตอรี่หมดเกลี้ยงหม้อ เครื่องจะไม่ชาร์จ หลอดไฟ main, 50% , และ Fail จะสว่าง เสียง Buzzer ร้องเตือน 

ควรตรวจให้แน่ใจว่าแบตเตอรี่มีค่าแรงดัน

ตรงกับแรงดันของเครื่องฯ หรือไม่ ถ้าตรงกันให้กดปุ่ม Equalize ค้างไว้เกิน 10 วินาที จนหลอดไฟ Main,E และ 50% สว่างจึงปล่อยมือ 

เครื่องจะเข้าสู่ Manual No.1 (เป็นการชาร์จแบบกึ่งอัตโนมัติจนไฟเต็มหม้อ หลอดไฟ Full จะสว่างและมีเสียงร้องเตือน)


4.7 ถ้าต้องการชาร์จแบบตั้งเวลาเอง จะต้องเข้าสู่Manual No 2-5 โดยกดปุ่ม Equalize ค้างไว้เกิน 10 วินาทีจนหลอดไฟ Main,

E และ 50 % สว่างขึ้น จึงปล่อยมือ ให้เลือกการตั้งเวลาได้โดยกดปุ่ม Equalize 

(กดแต่ละครั้งเครื่องจะไล่การตั้งเวลาที่ 1-7 ไปตามลำดับและวนกลับมา 1 ใหม่ จนกว่าหยุดกด) 

สังเกตความสว่างของหลอดไฟ (ดูตารางที่ 2 หน้า 5 เครื่องจะชาร์จจนกว่าจะครบเวลาที่เลือกไว้โดยไม่สนใจว่าไฟแบตเตอรี่เต็มหรือไม่

 เมื่อหมดเวลา หลอดไฟ Full สว่างและจะมีเสียงเตือน


4.8 ในระหว่างการชาร์จแบบอัตโนมัติหรือตั้งเอง (Manual) ถ้าต้องการเปลี่ยนไปชาร์จในอีกแบบหนึ่ง (Auto ไป Manual หรือ Manual ไป Auto) 

จะต้องปิดสวิตซ์ไฟเข้าและถอดปลั๊กไฟออก (ต้องทำครบทั้ง 2 อย่างนี้) แล้วทำเหมือนเริ่มต้นชาร์จใหม่ (ตามขั้นตอน 4.3) 

แล้วจึงเลือกชาร์จตามต้องการ ตามขั้นตอน 4.4-4.5 (แบบ Auto) หรือ 4.6-4.7 (แบบ Manaul)

4.9 เมื่อจะเลิกชาร์จให้ปิดสวิทซ์ไฟเข้าก่อน แล้วจึงถอดปลั๊กขั้วไฟออกจากขั้วแบตเตอรี่

4.10 ควรชาร์จแบบ Equalize ทุก ๆ 7 วัน หรืออย่างน้อยทุก ๆ 1 เดือนและชาร์จในวันสุดสัปดาห์ โดยกดปุ่ม EQUALIZE  1 ครั้ง

ขณะเริ่มชาร์จ (สังเกตหลอดไฟ EQ สว่าง) เพื่อป้องกันแบตเตอรี่ไม่ให้เสื่อมเร็วกว่าปกติ


4.11 เมื่อเกิดอาการผิดพลาดใด ๆ  จะมีเสียงเตือนรัวเร็ว ๆ ให้รีบปิดสวิทซ์ไฟเข้าและถอดปลั๊กไฟออกทันที 

สังเกตอาการผิดพลาดโดยดูความสว่างของหลอดไฟ (ดูตารางที่ 1 หน้า 5) แล้วแก้ไขให้ถูกต้องก่อน

4.12 ในกรณีที่ชาร์จกลับขั้ว (Reverse Polarity) ฟิวส์ควบคุมการจ่ายไฟชาร์จ (Output) อาจจะเสียหาย 

และจะมีเสียงร้องดังต่อเนื่องตลอดเวลา (จนกว่าจะถอดขั้วออก),หลอดไฟ Fall จะสว่าง ผู้ใช้ต้องแก้ไขปรับขั้วแบตฯ 

และขั้วไฟออกของเครื่องให้ถูกต้องตรงกัน, เปลี่ยนฟิวส์ควบคุมไฟออก (ฟิวส์แบบในมืด)ซึ่งอยู่ภาายในเครื่อง

5. การบำรุงรักษาตู้ชาร์จแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์

5.1 การดูแลรักษาตู้ชาร์จแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์และอุปกรณ์นี้ ควรเป็นช่างผู้ชำนาญหรือผู้ที่มีหน้าที่นี้โดยตรง

5.2 ต้องถอดปลั๊กไฟเข้า และปลั๊กไฟออกจากแบตเตอรี่ให้ครบถ้วนก่อนที่จะมีการเปิดฝาเครื่อง หรือทำการซ่อมแซมใด ๆ

5.3 หมั่นขจัดฝุ่นละอองและสิ่งแปลกปลอมที่ตกค้างภายในเครื่องเป็นประจำ เพื่อการระบายความร้อนที่มีประสิทธิภาพ

และป้องกันการลัดวงจรหรือเกิดเสียงดัง

5.4 หมั่นตรวจสอบหัวต่อปลั๊กทุกหัวเป็นประจำ ขั้วแน่นสนิทดีหรือไม่, มีการแตกร้าวของตัวปลั๊กหรือไม่,มีคราบสนิมหรือรอยไหม้คล้ำหรือไม่ เป็นต้น 

6. การแก้ไขปัญหาข้างต้น
คู๋มือการใช้งานตู้ชาร์จแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ 5
7. ตารางแสดงสถานะหลอดไฟ ฯ

ตารางที่ 1 (Table No.)

การใช้งานตู้ชาร์จแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ ตารางที่ 1

ตารางแสดงสถานะหลอดไฟเมื่อเกิดความผิดพลาด (Errors Indicator)

* = หลอดไฟสว่างแบบกระพริบตลอดเวลา

1 Over Voltage = ค่าแรงดันไฟแบตเตอรี่สูงเกินกว่าแรงดันไฟเครื่อง (ใช้แบตเตอรี่ผิดขนาด)

2 Safety Timer = ชาร์จเกินกว่า 14 ชั่วโมงไฟเข้าไม่ถึง 80% (แบตเตอรี่เสื่อม-เก็บไฟไม่อยู่)

3 Under Voltage = ค่าแรงดันไฟแบตเตอรี่ต่ำกว่าแรงดันไฟเครื่อง (ใช้แบตเตอรี่ผิดขนาด) หรือแบตเตอรี่ไฟหมดเกลี้ยงหม้อ

ตารางที่ 2 (Table No.2)

การใช้งานตู้ชาร์จแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ ตารางที่ 2

ตารางแสดงการตั้งเวลาแบบ Manual (Manual Mode Table)

*= หลอดไฟสว่างค้างตลอดเวลา (ไม่กระพริบ)

8. วงจรการเดินสายตู้ชาร์จแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์
วงจร ตู้ชาร์จแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ หน้า 7
9. การเลือกหัวไฟเข้า
ชนิดตู้ชาร์จแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ หน้า 8
EA forklift
ได้รับมาตรฐาน ISO 9001 : 2015
FORKLIFT มาตรฐาน Iso EA
CUSTOMER REFERENCE
Ea Logo Customer
ผู้เชี่ยวชาญพิเศษดูแลรถโฟล์คลิฟท์คุณภาพ
Service 1
ทีมช่างบริการรถโฟล์คลิฟท์
ทีมช่างบริการดูแลรถโฟล์คลิฟท์
Service 1

สอบถามสินค้า บริการ งานซ่อม รถโฟล์คลิฟท์ แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ ยางตัน อื่นๆ

ขอใบเสนอราคาโดยการกรอกข้อมูลด้านล่าง